พลูคาว เบต้า-กลูแคน กับภูมิคุ้มกัน
โดย วิฑูรย์
ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 25 มิ.ย. 2555.
พลูคาว เบต้า-กลูแคน กับภูมิคุ้มกัน
ปกติแล้วรอบๆ ตัวเรามีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมมากมายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ หรือชนิดที่เกาะอยู่กับตัวมนุษย์ สัตว์และสิ่งของ หรืออยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะจู่โจมร่างกายของพวกเราตลอดเวลา แต่เหตุที่เราไม่เจ็บป่วยก็เพราะร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงคอยช่วยต่อสู้ แต่ถ้าเมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันภายในตัวเราอ่อนกำลังลงแล้ว เราก็จะแสดงอาการเจ็บป่วยทันที ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันภายในบกพร่องมักจะป่วยด้วยโรคต่างๆ และต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ขณะเดียวกัน ถ้าภูมิคุ้มกันไวเกิน ก็จะป่วยไปอีกแบบได้แก่เป็นโรคภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ หอบหืด จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล รวมถึงโรคที่ร้ายแรงมากขึ้นไปอีก เช่น โรค SLE (เอส แอล อี หรือโรคพุ่มพวง) และรูมาตอยด์ เป็นต้น ร่างกายมนุษย์มีระบบการป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายเบื้องต้น เช่น ผิวหนังทำหน้าที่ป้องการการผ่านของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัส ขนจมูกและขนตา ทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกาย แต่หากมีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่สามารถผ่านเข้ามาในร่างกาย หรือที่เรียกว่า แอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะมีระบบภูมิคุ้มกันทำงานร่วมกันหลายแบบ โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างมาจากสเตมเซลล์ (Stem cells) ที่อยู่ในไขกระดูก เช่น เซลล์ที่ทำหน้าที่จับกินสิ่งแปลกปลอม เช่น Macrophage, Nonocyte, Neutrophi เซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า ลิมโฟไซท์ (Lymphocyte) แบ่งเป็น B-cells ทำหน้าที่ผลิตแอนติบอดี้ (Antibody) และT-cells ทำหน้าที่ตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรค เซลล์ที่มี Granule จำนวนมากได้แก่ Eosinophil, Basophil
ผู้คนที่สนใจในเรื่องสุขภาพจึงมักจะสนใจดูแลภูมิคุ้มกันภายในด้วยการเอาใจใส่เรื่องโภชนาการ เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในที่นี้จึงขอแนะนำสารอาหาร 2 ชนิดที่ช่วยในเรื่องการเสริม และปรับสมดุลภูมิคุ้มกันของร่างกายคือ พลูคาว และ เบต้า-กลูแคน
พลูคาว (Houttuynia cordata Thunb)
พลูคาว เป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย และประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศอินเดีย จีน เกาหลี และญี่ปุ่น พลูคาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia cordata Thunb มีชื่อท้องถิ่นได้หลายชื่อ เช่น พลูคาว ผักคาวตอง ผักก้านตอง ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาคเหนือ และอีสานใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือกินกับลาบ
การใช้ประโยชน์ พื้นบ้านของพลูคาว
ภูมิภาคอินโดจีน ใช้ทั้งต้น บรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ แก้ลมพิษ ใบ ใช้แก้บิด
ประเทศจีน ใช้ใบหรือทั้งต้นขับปัสสาวะ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ และบิด ต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะ ระบบทางเดินหายใจ
ประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย ใช้ทั้งต้นเป็นยาลดไข้ ขจัดสารพิษ รักษาแผลในกระเพาะ และอาการอักเสบ รวมทั้งรักษาพิษแมลงกัดต่อย
ประเทศเกาหลี ใช้พลูคาวรักษาโรคความดันโลหิตสูง อาการเส้นเลือดแข็งตัว และมะเร็ง
ประเทศเนปาล ใช้ลำต้นใต้ดิน ในตำรับยาที่เกี่ยวกับโรคของสตรี ใช้ทั้งต้นเป็นยาช่วยย่อย บรรเทาอาการอักเสบ และขับระดู ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้บิด และริดสีดวงทวาร
ประเทศไทย ใช้ในยาแผนโบราณ และยาพื้นบ้าน ใช้เป็นยาแก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนัง แก้พิษฝี ต้นแก้ริดสีดวง ชาวเขาม้งใช้ผักคาวตอง เป็นยารักษาโรคมาเลเรีย
พลูคาวยังมีในตำรับยาอีกหลายขนาน ผลการตรวจสอบทะเบียนตำรับยาแผนโบราณของไทย ในช่วงประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา พบในสูตรตำรับยาแผนโบราณ ที่กระทรวงสาธารณสุขรับขึ้นทะเบียน จำนวน 19 ตำรับ
องค์ประกอบทางเคมีของพลูคาว พลูคาว มีองค์ประกอบทางเคมี ที่สำคัญ 6 ประเภทคือ น้ำมันหอมระเหย (Volatile oil), สารประเภท ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids), สารประเภท อัลคาลอยด์ (Alkaloid), สารประเภทกรดไขมัน (Fatty acids), สารประเภทไฟโตเสตอรอล (Phytosterols) และสารประกอบเคมีอื่นๆ ได้แก่ Polyphenolic acid กับแร่ธาตุ เช่น Fluoride, Potassium chloride, Potassium sulfate
เภสัชวิทยาของพลูคาว
พลูคาว กับภูมิคุ้มกัน
งานวิจัยของพลูคาวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นเรื่องที่น่าสนใจและแปลกใจอย่างยิ่ง เพราะแนวโน้มพบว่า เสริมภูมิคุ
ราคา: | ไม่ระบุราคา | ต้องการ: | ขาย |
ติดต่อ: | วิฑูรย์
| อีเมล์: | |
สภาพ: | ใหม่
| จังหวัด: | นครนายก |
| | | |
โทรศัพย์: | | |
มือถือ: | - | |
|
คำค้น: |
วิธีลดต้นขา |
|
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
หน้า แสดง - จากทั้งหมด 4266 ประกาศ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
0 บาท |
|
|
|
2,200 |
|
|
|
650 บาท |
|
|
|
500 บาท |
|
|
|
150 บาท |
|
|
|
990 บาท |
|
|
|
11,500 |
|
|
|
16,000 บาท |
|
|
|
630 บาท |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
500 บาท |
|
|
|
630 บาท |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
1,775 บาท |
|
|
|
1,669 บาท |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |